เอกสารโอนรถยนต์ ต้องใช้อะไรบ้าง
เมื่อนึกถึงการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ เอกสารโอนรถยนต์ เป็นเรื่องสำคัญที่คนส่วนใหญ่อยากจะรู้รายละเอียดว่า โอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง และมีขั้นตอนยุ่งยากไหม เดี๋ยววันนี้ ทิสโก้ ออโต้แคช จะพาคนใช้รถมาทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้เอง ต้องบอกเลยว่าไม่วุ่นวายอย่างที่คิดแน่นอน
โอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง
การโอนรถยนต์นั้นมีหลายรูปแบบ แต่ละแบบก็ต้องใช้เอกสารที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เราจะแบ่งการโอนรถออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การโอนลอย การโอนตรง และการโอนให้ญาติ หรือผู้รับมรดก มาดูกันว่าแต่ละแบบต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
เอกสารการโอนรถแบบโอนลอย
การโอนลอยเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในการซื้อขายรถยนต์มือสอง เพราะสะดวกและรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องไปดำเนินการเองที่กรมขนส่งทางบก ส่วนเอกสารที่ต้องเตรียม มีดังนี้
- เล่มทะเบียนรถยนต์ (ฉบับจริง)
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขาย พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- แบบคำขอโอนและรับโอน (ลงนามโดยผู้ขาย)
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขายไม่ได้ไปดำเนินการเอง)
- สัญญาซื้อขายรถยนต์
เอกสารการโอนรถแบบโอนลอย
การโอนลอยเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในการซื้อขายรถยนต์มือสอง เพราะสะดวกและรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องไปดำเนินการเองที่กรมขนส่งทางบก ส่วนเอกสารที่ต้องเตรียม มีดังนี้
- เล่มทะเบียนรถยนต์ (ฉบับจริง)
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ขาย พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- แบบคำขอโอนและรับโอน (ลงนามโดยผู้ขาย)
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขายไม่ได้ไปดำเนินการเอง)
- สัญญาซื้อขายรถยนต์
เอกสารการโอนรถแบบโอนตรง
การโอนตรง จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยมากที่สุด เพราะทั้งเจ้าของรถ และผู้รับโอนต้องไปดำเนินการที่กรมขนส่งทางบกทั้งคู่ ส่วนเอกสารที่ใช้จะมีดังนี้
- เล่มทะเบียนรถยนต์ (ฉบับจริง)
- บัตรประชาชนของผู้ซื้อและผู้ขาย (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ซื้อและผู้ขาย
- แบบคำขอโอนและรับโอน (ลงนามโดยทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย)
- สัญญาซื้อขายรถยนต์
- หลักฐานการชำระภาษีรถยนต์ประจำปี
เอกสารการโอนรถให้ญาติ หรือผู้รับมรดก
ในส่วนของการโอนรถให้ญาติ หรือผู้รับมรดก อาจจะมีขั้นตอนการเตรียมเอกสารเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย เพราะต้องมีเอกสารยืนยันต่าง ๆ ที่มากขึ้น ดังนี้
- เล่มทะเบียนรถยนต์ (ฉบับจริง)
- บัตรประชาชนของผู้โอนและผู้รับโอน (ฉบับจริง พร้อมสำเนา)
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้โอนและผู้รับโอน
- แบบคำขอโอนและรับโอน
- หนังสือยินยอมให้โอนจากทายาทคนอื่น
- สำเนาใบมรณบัตร (กรณีเจ้าของรถเสียชีวิต)
- หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ เช่น สูติบัตร ทะเบียนสมรส
ทำความเข้าใจขั้นตอนการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ
เมื่อรู้กันไปแล้วว่าโอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง เราจะพามาดูขั้นตอนในการดำเนินการต่อ หากอยากโอนรถจะต้องทำอย่างไร
- เตรียมเอกสารให้ครบ : รวบรวมเอกสารสำคัญทั้งหมด เช่น เล่มทะเบียนรถ, บัตรประชาชน, และสัญญาซื้อขาย พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของเอกสารทุกฉบับก่อนดำเนินการต่อไป
- ตรวจสภาพรถและชำระภาษี : นำรถเข้าตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาต และรับใบรับรองการตรวจสภาพ รวมถึงชำระภาษีรถยนต์ประจำปี (หากยังไม่ได้ชำระ) เพื่อให้เอกสารครบถ้วนสำหรับการโอน
- ยื่นคำขอโอนที่กรมขนส่ง : เดินทางไปยังกรมขนส่ง พร้อมกรอกแบบคำขอโอน และรับโอนให้ครบถ้วน พร้อมแนบเอกสารประกอบทั้งหมด ให้ทางเจ้าหน้าที่ที่กรมขนส่งในพื้นที่ที่สะดวก
- ชำระค่าธรรมเนียมพร้อมรับใบเสร็จ : ชำระค่าธรรมเนียมการโอน ค่าอากรแสตมป์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมรับใบเสร็จรับเงิน และรอรับเล่มทะเบียนรถที่เปลี่ยนชื่อเจ้าของเรียบร้อยแล้ว
โอนรถมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ค่าใช้จ่ายในการโอนรถจะมีดังนี้
- ค่าคำขอ : 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมการโอน : 100 บาท
- ค่าอากรแสตมป์ : 0.5% ของราคาประเมินรถยนต์ หรือราคาซื้อขายจริง (แล้วแต่จำนวนใดสูงกว่า)
- ค่าตรวจสภาพรถ (ถ้ามี) : ประมาณ 200-300 บาท
โดยรวมแล้ว ค่าใช้จ่ายในการโอนรถมักอยู่ที่ประมาณ 2,000-5,000 บาท ขึ้นอยู่กับราคาประเมินของรถยนต์
โอนรถข้ามจังหวัดทะเบียนเดิมได้ไหม
สามารถโอนรถข้ามจังหวัดได้ โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทะเบียน แต่ต้องดำเนินการที่สำนักงานขนส่งในจังหวัดที่รถจดทะเบียนไว้ หรือจังหวัดที่เจ้าของรถมีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หากต้องการเปลี่ยนทะเบียนเป็นจังหวัดใหม่ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
โอนรถต้องตรวจสภาพก่อนไหม
โดยทั่วไป การโอนรถมักจะต้องผ่านการตรวจสภาพก่อน ยกเว้นกรณีที่รถยนต์มีอายุไม่เกิน 7 ปี (นับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก) หรือเป็นการโอนระหว่างคู่สมรส พ่อแม่กับลูก หรือระหว่างพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ในกรณีเหล่านี้ อาจไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถก่อนการโอน แต่การเลือกตรวจสภาพรถก่อนโอนเปลี่ยนเจ้าของ ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อเช็กความพร้อมใช้งานของรถคันดังกล่าว
วิธีเขียนใบมอบอํานาจที่ถูกต้อง
การเขียนใบมอบอำนาจ เป็นสิ่งสำคัญในกรณีที่เจ้าของรถไม่สามารถไปดำเนินการโอนรถด้วยตนเองได้ ซึ่งใบมอบอำนาจที่ถูกต้องควรจะมีรายละเอียดดังนี้
- ชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ของผู้มอบอำนาจ (เจ้าของรถ)
- ชื่อ-นามสกุล และที่อยู่ของผู้รับมอบอำนาจ
- รายละเอียดของรถยนต์ (ยี่ห้อ รุ่น หมายเลขทะเบียน หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถัง)
- ระบุอำนาจที่มอบให้ชัดเจน เช่น “มอบอำนาจให้ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์”
- วันที่ทำการมอบอำนาจ
- ลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
- ลายมือชื่อของพยานอย่างน้อย 2 คน
สรุปบทความ เอกสารโอนรถยนต์ ต้องใช้อะไรบ้าง
หวังว่าทุกคนจะรู้กันแล้วนะว่า เอกสารโอนรถยนต์ ต้องใช้อะไรบ้าง และมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการโอนตรง โอนลอน หรือโอนเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ให้กับญาติ หรือผู้รับมรดกก็ตาม แต่สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องทางการเงิน และจำเป็นต้องใช้เงินก้อนด่วน สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ จากทิสโก้ ออโต้แคช ช่วยคุณได้แน่นอน เพราะที่นี่เราให้วงเงินประเมินสูงสุด 100% ผ่อนได้นาน 72 เดือน โดยสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ของเราเป็นรูปแบบไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน และสามารถปิดโปะได้โดยไม่มีค่าปรับ หากคุณต้องการปรึกษาปัญหาทางการเงินหรือปรึกษาการขอสินเชื่อจำนำทะเบียนรถกับ ทิสโก้ ออโต้แคช สามารถ โทร. 02-123-4000 หรือ แอดไลน์ @TISCOAutoCash เราพร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเรื่องการเงินให้คุณทันที
กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว | อัตราดอกเบี้ย 12% – 24% ต่อปี
เงื่อนไขและการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด