การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ ทำได้กี่วิธี และต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ตอบครบจบ! การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ ทำได้กี่วิธี มีขั้นตอนอะไรบ้าง

เมื่อใดก็ตาม ที่ต้องการซื้อขายรถยนต์มือสอง การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ คืออีกเรื่องหนึ่งสำคัญที่คนมีรถควรทำความเข้าใจกันสักนิด เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ในการครอบครองตัวรถโดยตรง ซึ่งหากละเลยไป อาจกลายเป็นปัญหาตามมาในภายหลังได้ โดยเฉพาะในเรื่องเอกสารโอนรถยนต์ ที่หลายคนอาจจะคิดว่ามีแค่สัญญาซื้อขายก็เป็นอันจบแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่เพียงแค่นั้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไมคนมีรถต้องทำความเข้าใจเรื่องการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ

การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ คืออะไร

การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ คือ การโอนกรรมสิทธิ์จากชื่อเจ้าของเดิมให้กลายเป็นชื่อเจ้าของคนใหม่ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า รถยนต์คันนี้มีใครเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรม ซึ่งจะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบรถยนต์คันนี้โดยตรง ทั้งในเรื่องของการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เสียภาษีประจำปี หรือแม้แต่กรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จากการถูกยืมรถไปใช้งาน เจ้าของรถก็อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายด้วยเช่นกัน หากผู้ยืมบ่ายเบี่ยงที่จะรับผิดชอบ แล้วรถไม่ได้ทำประกันภัยรถยนต์ไว้ 

การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ มีกี่วิธี

การโอนรถยนต์สามารถทำได้ 2 วิธี ซึ่งจะแบ่งเป็นการโอนตรง และการโอนลอย ซึ่งวิธีที่แนะนำให้กับผู้ที่ต้องการซื้อขายรถทุกคนทำ ก็คือการโอนตรงที่ปลอดภัยมากที่สุด แต่เราจะอธิบายถึงความแตกต่างของการโอนสองวิธีนี้ให้เข้าใจกันมากขึ้น

1. การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนตรง

การโอนรถยนต์แบบโอนตรง คือ การที่เจ้าของเก่า และเจ้าของใหม่ที่ทำการซื้อรถคันดังกล่าว เดินทางไปที่สำนักงานขนส่งในจังหวัด เพื่อดำเนินการโอนรถยนต์ต่อหน้านายทะเบียน โดยสภาพรถจะต้องตรงกันกับข้อมูลที่ระบุในใบคู่มือจดทะเบียนรถ (เล่มทะเบียน) หากไม่ตรงกันจากการดัดแปลงสภาพ จะต้องนำรถไปตรวจสภาพให้เสร็จสิ้นเสียก่อน (ตรอ.) วิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้อง และมีความปลอดภัยในการซื้อขายมากที่สุด

2. การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนลอย

การโอนรถลอย คือ การที่เจ้าของเก่า เซ็นเอกสารมอบอำนาจให้ทางเจ้าของใหม่ไปโอนรถเอง ซึ่งจะเป็นการประหยัดเวลาในการเดินทางไปที่สำนักงานขนส่งเอง จึงเป็นวิธีที่เต็นท์รถมือสองมักเลือกใช้ เพราะไม่อยากให้มีประวัติระบุลงในใบคู่มือจดทะเบียนรถ (เล่มทะเบียน) ว่ารถผ่านมาหลายมือ ซึ่งอาจส่งผลในด้านของราคา และความน่าซื้อที่ลดลง แต่วิธีนี้ก็มีความเสี่ยงต่อเจ้าของเดิม เพราะหากเจ้าของใหม่นำรถไปใช้งานโดยไม่ยอมโอน หากมีการนำรถไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้น เจ้าของเดิมที่ยังถือกรรมสิทธิ์อาจจะต้องรับผิดด้วย

ข้อดี–ข้อเสียที่ต้องรู้ในการโอนลอย

ข้อดี–ข้อเสียที่ต้องรู้ในการโอนลอย


การโอนรถแบบโอนลอยเป็นวิธีที่หลายคนเลือกใช้เพราะความสะดวกรวดเร็ว แต่ก็แฝงไปด้วยความเสี่ยงที่อาจสร้างปัญหาตามมาในภายหลัง มาดูกันว่าการโอนรถแบบนี้มีข้อดี และข้อเสียอย่างไรบ้าง

ข้อดีของการโอนลอย

  • ประหยัดเวลาในการซื้อขาย : การโอนลอยช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขายประหยัดเวลาในการทำธุรกรรมได้มาก เพราะไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่กรมขนส่งพร้อมกัน สามารถทำธุรกรรมซื้อขายให้จบได้ในครั้งเดียว ผู้ขายรับเงินได้ทันทีหลังตกลงซื้อขาย จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดด้านเวลาในการเดินทางไปติดต่อราชการ
  • ลดภาระการเดินทาง : ข้อดีที่สำคัญอีกประการของการโอนลอยคือ เจ้าของเดิมไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางไปดำเนินการที่กรมขนส่งด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ ช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และมีความยืดหยุ่นในการจัดการเอกสารมากกว่า

ข้อเสียของการโอนลอย

  • ความเสี่ยงด้านกฎหมาย : ปัญหาใหญ่ของการโอนลอยคือความเสี่ยงทางกฎหมาย เพราะตราบใดที่ยังไม่ได้โอนชื่อในเล่มทะเบียน เจ้าของเดิมยังต้องรับผิดชอบหากเกิดอุบัติเหตุ หรือการกระทำผิดกฎหมาย อาจถูกเรียกค่าเสียหายจากการกระทำของผู้ซื้อ หรือแม้แต่เสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องในคดีอาญา รวมถึงปัญหาการจ่ายภาษี ละค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ยังคงเป็นภาระของเจ้าของเดิม
  • ความเสี่ยงด้านทรัพย์สิน : การซื้อรถแบบโอนลอยอาจทำให้ได้รถที่มีปัญหาทางกฎหมาย เพราะไม่สามารถตรวจสอบประวัติได้อย่างละเอียดในทันที เสี่ยงต่อการถูกยึดรถภายหลัง หรืออาจเกิดปัญหาในการโอนกรรมสิทธิ์ในอนาคต ซึ่งอาจทำให้สูญเสียทั้งเงิน และเวลาในการแก้ไขปัญหา
  • ปัญหาด้านเอกสาร : การโอนลอยมักพบปัญหาเรื่องเอกสารไม่สมบูรณ์เมื่อต้องการโอนในภายหลัง โดยเฉพาะกรณีบัตรประชาชนหมดอายุซึ่งทำให้โอนไม่ได้ หรือกรณีที่เจ้าของเดิมเสียชีวิตจะยิ่งสร้างความยุ่งยากในการแก้ไขเอกสาร ทำให้เสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมากกว่าการโอนตรงตั้งแต่แรก

โอนรถใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ

ในส่วนของเอกสารโอนรถ จะมีความแตกต่างกันนิดหน่อยระหว่างการโอนตรง กับการโอนรถลอย โดยจะมีรายละเอียดทั้งหมด ดังนี้

เอกสารโอนรถเปลี่ยนเจ้าของแบบโอนตรง

  • หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์
  • สัญญาซื้อขายพร้อมใบเสร็จ และใบกำกับภาษี
  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริง (เล่มทะเบียน)
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ซื้อ / สำเนาบัตรประชาชนผู้ขาย พร้อมลายเซ็นสำเนาถูกต้องรับรองการโอน 
  • สำเนาป้ายภาษี หรือสำเนาใบเสร็จจากกรมขนส่งทางบกของรถที่ซื้อขาย
  • แบบคำขอโอน และรับโอนจากกรมขนส่งทางบก เพื่อใช้กรอกรายการ และลงลายมือผู้โอน และผู้รับโอนให้เรียบร้อย
  • กรณีนิติบุคคล ให้ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

เอกสารโอนรถเปลี่ยนเจ้าของกรณีให้ญาติ หรือผู้รับมรดก

  • หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์
  • สัญญาซื้อขายพร้อมใบเสร็จ และใบกำกับภาษี
  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริง (เล่มทะเบียน)
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้ซื้อ / สำเนาบัตรประชาชนผู้ขาย พร้อมลายเซ็นสำเนาถูกต้องรับรองการโอน 
  • สำเนาป้ายภาษี หรือสำเนาใบเสร็จจากกรมขนส่งทางบกของรถที่ซื้อขาย
  • แบบคำขอโอน และรับโอนจากกรมขนส่งทางบก เพื่อใช้กรอกรายการ และลงลายมือผู้โอน และผู้รับโอนให้เรียบร้อย
  • กรณีนิติบุคคล ให้ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม 
  • กรณีโอนให้ญาติ หรือครอบครัว ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้าน
  • กรณีโอนให้สามี หรือภรรยา ให้ใช้ใบทะเบียนสมรส
  • กรณีรับมรดกจากผู้เสียชีวิต ให้ใช้ใบมรณะบัตร และต้องดำเนินการภายใน 15 วัน

ขั้นตอนการโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถ

ขั้นตอนการโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถ

ขั้นตอนในการโอนรถเปลี่ยนเจ้าของนั้นไม่ยุ่งยาก ใครที่กำลังซื้อขายรถยนต์มือสอง สามารถทำได้ตามด้านล่างนี้เลย 

  1. นำรถไปตรวจเช็กสภาพ (ตรอ.)
  2. เข้าไปยื่นเรื่องในการโอนกรรมสิทธิ์ พร้อมชำระค่าธรรมเนียมที่งานทะเบียนรถในสำนักงานขนส่งจังหวัด
  3. รอดำเนินการ พร้อมรับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน (เล่มทะเบียน)
  4. รับใบเสร็จ เครื่องหมายการเสียภาษี และผ่านป้ายทะเบียนรถ

ค่าโอนรถยนต์ มีค่าธรรมเนียมเท่าไหร่

ค่าโอนรถยนต์ จะมีการคิดค่าธรรมแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด ดังนี้

  • ค่าคำขอโอนรถยนต์ 5 บาท
  • ค่าธรรมเนียมโอนรถยนต์ 100 บาท
  • ค่าเปลี่ยนใบคู่มือจดทะเบียนรถ (กรณีชำรุด) 100 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ 500 บาท ต่อการประเมินราคารถ 100,000 บาท 
  • ค่าเปลี่ยนแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ (กรณีอยากเปลี่ยน) 200 บาท

โอนรถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง

การโอนรถยนต์ สามารถเข้าไปดำเนินการในที่สำนักงานขนส่งในจังหวัดได้ทุกที่ หากเป็นพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถเดินทางไปดำเนินการได้ทั้งหมด 5 แห่งด้วยกัน มีดังนี้ 

  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 : บางขุนเทียน
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2 : ตลิ่งชัน
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3 : สุขุมวิท
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 4 : หนองจอก
  • สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5 : จตุจักร

โอนรถข้ามจังหวัดทะเบียนเดิมได้ไหม

โอนรถข้ามจังหวัด สามารถใช้ทะเบียนเดิมได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องกรอกใบคำขอในการใช้รถป้ายทะเบียนเดิมในเขตพื้นที่นั้นๆ ที่สำนักงานขนส่งในจังหวัดได้เลย

สรุปบทความ การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของ ทำได้กี่วิธี มีขั้นตอนอะไรบ้าง

เห็นกันแล้วใช่ไหมว่า การโอนรถเปลี่ยนเจ้าของนั้นไม่ยุ่งยากเลยสักนิด เพียงแค่เตรียมเอกสารโอนรถเปลี่ยนเจ้าของให้พร้อม ก็สามารถเข้าไปยื่นเรื่องที่สำนักงานขนส่งในจังหวัดได้ทันที โดยไม่ควรไปเสี่ยงกันการโอนลอยผ่านการมอบอำนาจหากไม่จำเป็นจริงๆ เพราะอาจมีคดีความตามมาในภายหลังได้แบบไม่รู้ตัว แต่ถ้าหากคุณมีปัญหาด้านการเงินที่จำเป็นจะต้องใช้เงินก้อน และไม่อยากขายรถออกไปจริง ๆ สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ จากทิสโก้ ออโต้แคช คืออีกหนึ่งทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ดี เพราะมีอัตราดอกเบี้ยในการขอสินเชื่อเริ่มต้นที่ 0.59% ต่อเดือน (หรือประมาณ 12% – 24% ต่อปี)  อีกทั้งยังมีระยะเวลาในการผ่อนชำระที่ยืดหยุ่นถึง 72 เดือน และยังรับรถรวมระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 25 ปีอีกด้วย 

*โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในการขอสินเชื่อกับทาง TISCOAutoCash อีกครั้ง*

 หากคุณอยากปรึกษาปัญหาทางการเงินหรือปรึกษาการขอสินเชื่อกับ ทิสโก้ ออโต้แคชสามารถ โทร. 02-1234000 หรือ แอดไลน์มาได้ที่ @TISCOautocash เราพร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเรื่องการเงินให้คุณทันที

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึกการตั้งค่า